ข้อ 6 ความหมายของคำว่า
Intranet
Intranet เป็นการติดต่อสื่อสารภายในหน่วยงาน Intranet มีพื้นฐานมาจากการใช้งานด้านการทหาร และการศึกษา โดยทางภาคธุรกิจและผู้บริโภคทั่วไปได้นำมาใช้จนแพร่หลาย และเป็นที่นิยมในเวลาต่อมา คาดว่าทางภาคธุรกิจจะมีการใช้ Internet มากขึ้น 2 ส่วน คือ
1. การซื้อขายสินค้าและบริการผ่าน internet มีการยอมรับการชำระเงินแบบ อิเล็กทรอนิก
2. การสร้างระบบเครือข่ายส่วนตัวภายในองค์กร หรือที่เรียกว่า Intranet มากขึ้น โดยจะถูกนำมาใช้แทนระบบ LAN ซึ่ง Intranet จะกลายเป็นแหล่งประมวลผลข้อมูลหลักขององค์กรในอนาคต
การทำการตลาดและขายสินค้า โดยใช้ internet ผู้บริโภคสามารถสั่งสินค้า ในขณะที่อยู่ที่บ้านหรือที่ทำงานได้แทนที่จะต้องเดินทางไปที่ร้านค้า โดยผู้บริโภคสามารถดูรายการสินค้าต่างๆ แล้วสั่งซื้อทาง internet
อย่างไรก็ตามลักษณะของ Intranet ยังเป็นเครือข่ายที่มีไม่ค่อยปลอดภัยนัก เพราะขณะที่แพ็กเก็ตข้อมูลถูกส่งออกไปนั้น อาจมีคนดักเอาแพ็กเก็ตไปดูได้ ฉะนั้นการทำธุรกิจแบบออนไลน์ ถ้าจ่ายเงินด้วยบัตรเครดิตผ่าน internet อาจมีคนคอยดักข้อมูล และนำเอาหมายเลขบัตรเครดิต และข้อมูลเฉพาะอื่นๆ เพื่อไปใช้ในทางมิชอบได้ จึงมีความเสี่ยงในเรื่องความปลอดภัยของข้อมูลอยู่บ้าง
ดังนั้น จึงมีการคิดค้นวิธีชำระผ่าน Intranet ให้ปลอดภัยมากขึ้นหลายวิธี แต่ที่นิยมใช้คือ การใช้ Secure electronic transaction protocol (SET) เป็นชุดกระบวนการของโปรโตคอล ซึ่งออกแบบสำหรับการชำระเงินผ่านทาง internet ให้มีความปลอกภัยมากที่สุดเท่าที่จะทำได้ ระบบ SET จะใช้ เทคโนโลยีการเข้ารหัส (encryption) เพื่อให้แน่ใจว่าไม่มีใครสามารถขโมยหมายเลขบัตรเครดิตของคุณได้ ซึ่งจะมีแต่ผู้ส่งและผู้รับเท่านั้นที่จะสามารถถอดรหัสเหล่านี้ได้ บริษัทเครดิตรายใหญ่ เช่น VISA , Master Card และ American Express ต่างสนับสนุน ขณะที่ SET เป็นวิธีมาตรฐานที่ใช้ในการป้องกันข้อมูลของบัตรเครดิตที่ส่งไปบน internet
ประโยชน์จาก Intranet
องค์กรต่างๆ ได้ติดตั้งระบบ Intranet ด้วยจุดประสงค์ต่างๆ กัน เช่น อาจใช้เพื่อการส่ง E-mail การระดมความคิดภายในองค์กร การจัดตารางนัดหมาย และการดึงข้อมูลจากฐานข้อมูล เป็นต้น Intranet ใช้เครือข่ายและเทคโนโลยี TCP/IP และเครื่องมือตลอดจนการบริการต่างของ internet เช่น world wide web , e-mail, telnet และ FTP แต่เครือข่ายและการบริการเหล่านี้จะใช้ได้เฉพาะภายในองค์กรเท่านั้น Intranet ถูกแยกออกจากระบบ internet ด้วย Firewall ซึ่งเป็นส่วนผสมระหว่าง Hardware กับ software สำหรับป้องกันไม่ให้ผู้ที่ไม่ได้รับอนุญาติข้าสู่ระบบ Intranet ได้ พนังงานที่ทำงานในบริษัทสามารถเข้าใช้งาน Intranet ได้และใช้บริการต่างๆ ได้ แต่ผู้บุกรุกจะถูกกันออกไปโดย Firewall
ส่วนประกอบที่สำคัญของ Intranet คือ e-mail ซึ่งจะมีการทำงานเหมือน e-mail ของ internet โดยที่มันจะใช้โปรแกรม e-mail client เหมือนปกติ เพียงแต่มันจะถูกออกแบบมาเพื่อส่งข้อมูลภายในองค์กรเท่านั้น ดังนั้นจึงไม่มีความจำเป็นที่จะต้องส่ง e-mail ออกไปข้างนอก เราท์เตอร์ และ mail server ภายในจะเป็นตัวช่วยส่ง e-mail ไปยังพนักงานคนอื่นๆ ขององค์กรผ่านทาง Intranet ส่วน e-mail ที่ส่งกลับไปมาระหว่าง internet กับ Intranet นั้นจะต้องผ่าน Firewall เพื่อตรวจสอบเสียก่อน
ฐานข้อมูลขององค์กรที่เก็บข้อมูลที่สำคัญๆ จะถูกเตรียมไว้เพื่อเรียกใช้จาก Intranet โดยผ่านทาง WEB ในรูปแบบเอกสาร HTML และโดยการใช้เครื่องมือในการสืบค้นต่างๆ โดยทั่วไปแล้วการสืบค้นข้อมูลจะต้องมีการสร้างชุดคำสั่งที่เรียกว่า CGI script หรือโปรแกรมในภาษา Java ขึ้นมาก่อน ซึ่งฐานข้อมูลเหล่านี้จะใช้ได้เฉพาะพนักงานภายในองค์กรเท่านั้น และ Intranet ทั้งหมดจะถูกป้องกันโดย Firewall อีกที่หนึ่ง
Intranet จะทำให้คนสามารถทำงานร่วมกันทางอิเล็กทรอนิกส์ โดยใช้ Group ware ซึ่งจะทำให้สามารถระดมความคิดจากหลายๆ คนได้ นอกจากนี้ยังสามารถทำตารางนัดหมายประชุม การวางแผนร่วมกันสร้างฐานข้อมูล ฯลฯ Intranet จะช่วยให้การทำงานที่ต้องการความร่วมมือ จากบริษัทอื่นทำได้ง่ายขึ้น เช่น การทำงานร่วมกับผู้รับเหมาช่วง เป็นต้น
Extranet
Extranet เป็นอีกเทคโนโลยีหนึ่งที่นำเข้ามาใช้งานในด้านการบริหารจัดการของธุรกิจการค้า เช่น
ด้านผู้สั่งซื้อสินค้า ช่วยให้ลูกค้าสามารถสั่งซื้อสินค้า จากบริษัทผู้ขายได้ทันที นอกจากนั้น ลูกค้ายังสามารถตรวจสอบได้ด้วยว่า บริษัทผู้ขายมีสินค้าที่เขาต้องการอยู่ ในสต็อกหรือไม่ และผู้ขายพร้อมที่จะส่งสินค้านั้นให้ผู้สั่งซื้อภายในระยะเวลาเท่าไร
ทางด้านผู้ขาย ก็สามารถตรวจสอบได้ตลอดเวลาว่าลูกค้ารายไหนสั่งสินค้าอะไรเข้ามาบ้าง สินค้าเหลืออยู่ในสต็อกเท่าไหร่ ลูกค้ารายไหนชำระเงินแล้ว หรือลูกค้ารายใดที่มีปัญหาในการชำระเงิน ซึ่งทั้งหมดจะช่วยทำให้การบริหารสินค้าคงคลัง กระแสเงินสด ตลอดจนการบริหารวัตถุดิบมีประสิทธิภาพมากขึ้น ซึ่งจะช่วยให้บริษัทลดต้นทุนต่างๆ ลงไปได้เป็นจำนวนมาก
ประโยชน์ที่ได้รับ
ประโยชน์ที่สำคัญคือ ในการนำ Extranet เข้ามาใช้งานทางด้านการค้า คือ การซื้อขายสินค้า การผลิตสินค้าเพิ่มเติม หรือการสั่งซื้อสินค้า เพื่อนำมาจำหน่ายเพิ่มเติม กำหนดการชำระเงินของลูกค้าถูกควบคุมด้วยระบบคอมพิวเตอร์ ซึ่งเมื่อถูกเตรียมไว้แล้ว จะไม่สามารถเปลี่ยนแปลงได้ ดังนั้น ทุกฝ่ายที่เกี่ยวข้องจะต้องรู้หน้าที่ของตนเป็นอย่างดี ขณะเดียวกันผู้บริหารขององค์กรจะสามารถตรวจสอบได้ทันทีว่าปัญหาเกิดจากจุดไหน ใครเป็นผู้รับผิดชอบ
ปกติการนำ Extranet เข้ามาใช้มักจะเป็นเรื่องเกี่ยวกับเงินๆ ทองๆ หรือเรื่องของความลับทางการค้าต่างๆ ถ้าระบบรักษาความปลอดภัยไม่ดีพอแล้ว ความเสียหายที่เกิดขึ้นอาจจะรุนแรงมาก
แนวโน้มของการใช้งาน Extranet ในประเทศไทยยังต้องใช้ระยะเวลา และมีปัญหาหลายอย่างที่ต้องแก้ไขให้ได้เสียก่อน ตัวอย่างคือ ภาวะถดถอยทางเศรษฐกิจที่เผชิญอยู่ทำให้งบลงทุนขององค์กรถูกถอดออกไปอย่างหลีกเลี่ยงไม่ได้ ซึ่งเป็นอุปสรรคที่สำคัญในการประกอบธุรกิจการค้า นอกจากนี้ ผู้ประกอบการธุรกิจหลายๆ องค์กรมักเคยชินกับการชำระค่าสินค้าและบริการล่าช้ากว่าที่มีการตกลงกันไว้ ถ้านำระบบ Extranet มาใช้งาน คู่ค้าทั้ง 2 ฝ่ายต้องทำตามข้อตกลงที่มีต่อกันอย่างเข้มงวด เพราะระบบคอมพิวเตอร์ไม่รับรู้ว่าคุณมีปัญหาอะไร แต่จะฟ้องขึ้นมาทันที ซึ่งทำให้เสียความน่าเชื่อถือไปได้ เป็นต้น
ธุรกิจแบบไหนควรใช้ EXtranet
intranet เกี่ยวพันกับเรื่องราวของการสื่อสารภายในองค์กร และการนำข้อมูลต่างๆ ที่มีอยู่มาใช้ เพื่อเพิ่มประสิทธิภาพในการขายและการบริการแก่ลูกค้า เรื่องของ Extranet กลับเป็นเรื่องระหว่างองค์กรกับองค์กร หรือหน่วยงานกับหน่วยงาน
อย่างไรก็ตาม การใช้ Extranet ในประเทศไทยยังคงอยู่ในระหว่างช่วงเวลาของการเริ่มต้น และลองผิดลองถูกกันอยู่ การนำมาใช้งานกันอย่างแพร่หลายคงไม่เกิดขึ้นเร็วมากนัก คาดว่าในแวดวงของธุรกิจจะใช้ Extranet มากกว่าในด้านอื่นๆ องค์กรที่มีการใช้ Intranet อยู่แล้ว มีแนวโน้มการนำ Extranet มาใช้เพิ่มเติมในอนาคต
ตราบใดที่ยังต้องมีการแข่งขันด้านธุรกิจทั้งภายในและต่างประเทศ หน่วยงานต่างๆ ต้องตื่นตัวกับการนำเทคโนโลยีที่ทันสมัยมาใช้ในการจัดการที่ไม่อาจหลีกเลี่ยงได้ ดังนั้นคู่ค้าของบริษัทต่างๆ ต่างหันมาใช้ Extranet มาใช้ในงานซึ่งเป็นวิธีการหนึ่ง ในการติดต่อซื้อขายกันมากขึ้นเรื่อยๆ ถ้าหากเราไม่มีเทคโนโลยีที่เหมาะสมในการติดต่อค้าขายกับลูกค้าเหล่านั้น เราอาจเสียลูกค้าไปด้วยเหตุผลที่เราคาดไม่ถึงก็ได้
โครงการพัฒนาสื่อการศึกษา เพื่อส่งเสริมการเรียนรู้ด้วยตนเองของนักศึกษา. ผศ.ดร.สานิตย์ กายาผาด สถาบันราชภัฎมหาสารคาม. ไชยา ภาวบุตร สถาบันราชภัฎสกลนคร. ว่าที่ ร.ต.สุรศิลป์ มูลสิน สถาบันราชภัฎอุบลราชธานี.