ข้อ 13
ISP : Internet Service Provider
ISP หมายถึง บริษัทผู้ให้บริการทาง Internet ทำหน้าที่ให้บริการการเชื่อมต่อระบบ Internet กับบุคคล หรือหน่วยงานต่างๆ ถ้าเราต้องการจะเชื่อมต่อเข้าระบบ Internet เราต้องติดต่อไปที่บริษัท ISP ในท้องถิ่นของเรา ซึ่งจะมีระบบที่เชื่อมต่อกับ Internet อยู่แล้ว เรามีหน้าที่หาเครื่องมาเชื่อมต่อกับระบบของ ISP โดยคิดค่าบริการกับเราเป็นรายชั่วโมง หรือรายเดือน แล้วแต่จะตกลงกัน ในการเชื่อมต่อเข้ากับระบบของ ISP ทำได้หลายวิธี แต่ส่วนใหญ่แล้วก็จะเชื่อมต่อทางโทรศัพท์ผ่านอุปกรณ์ที่เรียกว่า โมเด็ม โดยเราจะต้องแจ้งชื่อและรหัสประจำตัวที่เขาให้มา เมื่อต่อเข้าระบบของ ISP ได้แล้ว เราก็จะติดต่อกับระบบ Internet ได้ทันที การใช้ระบบโทรศัพท์ธรรมดาจะเสียค่าใช้จ่ายน้อย แต่แถบความถี่ (Bandwidth) จะแคบ ความเร็วสูงสุดที่รองรับได้ก็ประมาณ 36 Kbps แต่ถ้าเป็นระบบดิจิตอล เช่น ISDN ก็จะเร็วขึ้นเป็น 56 Kbps ถึง 128 Kbps ซึ่งคงไม่เพียงพอสำหรับบริการที่มีผู้ใช้จำนวนมากและใช้บริการซึ่งมีปริมาณข้อมูลมาก มีทั้งภาพ เสียง และวิดีโอ ในกรณีที่เราต้องการความเร็วในการส่งข้อมูลมากๆ เราคงต้องใช้ระบบเชื่อมต่อพิเศษ อาจเป็นสายเช่า (leased line) ในระบบ T1 ซึ่งรองรับความเร็วได้ถึง 1.5 Mbps แต่ค่าบริการรายเดือนจะค่อนข้างสูง
ประเภทของการเชื่อมต่อผ่านทาง ISP แบ่งเป็น 2 ประเภท คือ
1. การเชื่อมต่อแบบองค์กร (Coorporate user Services) เป็นองค์กรที่มีการจัดตั้งระบบเครือข่ายใช้ง่ายภายในองค์กรอยู่แล้ว จะสามารถนำเครื่องแม่ข่าย (Server) ของเครือข่ายนั้นเข้าเชื่อมต่อกับ ISP เพื่อเชื่อมโยงเข้าสู่ระบบ Internet ได้
2. การเชื่อมต่อส่วนบุคคล (Individual User Services) บุคคลธรรมดาทั่วไปสามารถขอเชื่อมต่อเข้าส Internet ได้ โดยใช้เครื่องคอมพิวเตอร์ที่ใช้อยู่เชื่อมต่อผ่านทางสายโทรศัพท์ผ่านอุปกรณ์ที่เรียกว่า โมเดม (Modem) ซึ่งค่าใช้จ่ายไม่สูงมากนัก เรียกว่า การเชื่อมต่อแบบ dial – up โดยผู้ใช้ต้องสมัครเป็นสมาชิกของ ISP เพื่อขอเชื่อมต่อผ่านทาง SLIP หรือ PPP account
ข้อควรคำนึง ในการเลือก ISP ขึ้นอยู่กับหลายปัจจัย เช่น ความเร็วในการติดต่อ จำนวนผู้ใช้ ราคา หรือความสะดวกต่างๆ เป็นต้น
ผู้ให้บริการ Internet (ISP) ในประเทศไทย
ในประเทศไทย การสื่อสารแห่งประเทศไทย ได้อนุมัติให้บริษัทเอกชนดำเนินการจัดตั้ง ISP ในเชิงพาณิชย์ขึ้น สำหรับบริการ internet ได้แก่
* บริษัท อินโฟนิวส์ จำกัด | * บริษัท เวิลด์เน็ตเซอร์วิส จำกัด |
* บริษัทเอ เน็ต จำกัด | * บริษัท ออนไลน์ จำกัด |
* บริษัท สามารถ อินโฟเน็ต จำกัด | * บริษัท ดาต้าไลน์ไทย จำกัด |
* บริษัท เอเชียแอคเซส จำกัด | * บริษัทอินเตอร์ฟาร์อิสต์วิสวการ จำกัด |
ปัจจุบันธุรกิจ ISP ได้เติบโตและขยายบริการที่เกี่ยวเนื่องกันไม่ว่าจะเป็นอีคอมเมิร์ซ, ASP (Application Service Provider) บริการเช่าใช้ซอฟต์แวร์ ฮาร์ดแวร์ และโครงข่าย ครบวงจร ซึ่งขณะนี้ผู้ประกอบการในแวดวงไอทีทั้งฝ่ายซอฟต์แวร์ ฮาร์ดแวร์ รวมถึง ISP ได้ร่วมมือกันก่อเป็นบริการ ASP เพิ่มมากขึ้นเรื่อยๆ ได้แก่
* IDC (Internet Data Center) บริการรับฝากเว็บไซต์ รับฝากเซิร์ฟเวอร์ รวมถึงการให้บริการด้านสาธารณูปโภคที่ต้องใช้ในการดูแลเซิร์ฟเวอร์ ซึ่ง ISP หลายรายกำลังเร่งรุกไปสู่กระแสการให้บริการนี้
* CSP (Commerce Service Provider) บริการโครงข่ายด้านการทำธุรกรรมบนอินเทอร์เน็ต ทั้งยังหมายรวมไปถึงตัว Gateway ด้วย โดย ISP จะให้บริการในรูปแบบของความร่วมมือกับพันธมิตร หรืออาจเป็นการทำอีคอมเมิร์ซ ทั้ง B to B และ B to C รวมทั้งการจัดอบรม และอื่นๆ
จากบริการต่างๆ นี้เป็นเพียงแค่ส่วนหนึ่งของบริการที่ขยายจากธุรกิจ ISP เท่านั้น จากนี้ไปจะยังคงมีบริการในรูปแบบใหม่ๆ เกิดขึ้นอีกมากมายอย่างแน่นอน และนั่นหมายถึงทิศทางธุรกิจของ ISP นั่นเอง แต่ก็ติดขัดปัญหาเรื่อง ไลเซนส์ที่กสท. หยุดให้ไปแล้ว จึงคงต้องรอให้เปิดเสรีโทรคมนาคมก่อนจึงจะเป็นโอกาสของผู้ประกอบการรายใหม่ หรืออีกช่องทางหนึ่งคือ เข้ามาในรูปของการร่วมทุน และซื้อกิจการ จะทำให้การแข่งขันสูงขึ้นไปอีก
ASP (application Service Providers)
ASP เป็นธุรกิจเช่าซอฟต์แวร์ ให้บริการโปรแกรมประยุกต์ต่างๆ ทำใหผู้ใช้และธุรกิจ หน่วยงานต่างๆ ประหยัดค่าใช้จ่ายในการจ้างคนมาเขียนโปรแกรม ไม่ต้องเสียค่าใช้จ่ายในการซื้อซอฟต์แวร์ แต่ได้ซอฟแวร์ที่มีคุณภาพ การขอเช่าก็สะดวกเพียงติดต่อผ่านทาง internet กับบริษัทผู้ให้บริการ ได้อย่างรวดเร็ว ทันใจ ในการทำงาน ปัจจุบัน การให้บริการ ASP ด้านนี้กำลังได้รับความนิยมจึงเป็นปัจจัยให้ ผู้ให้เช่า ต่างแข่งขันรับรองคุณภาพของซอฟต์แวร์ การบริการ เพื่อสร้างความมั่นใจแก่ลูกค้า
เอกสารประกอบการเรียนการสอน วิชาการสื่อสารผ่านสื่อใหม่ ร.อ.ดร.เศรษฐพงค์ มะลิสุวรรณ
Business.com.
วารสาร Cybertech: ต่อกับโลกภายนอก