ข้อ 11

(ก)  URL (Uniform Resource Locator)

ทำหน้าที่เหมือนกับการบอกที่อยู่นั่นเอง เราจะพบคำนี้อยู่ในหนังสือที่เกี่ยวกับ web 

หมายถึงการให้รายละเอียดของเครื่องคอมพิวเตอร์และชื่อของโดเมน รวมถึงพาธและชื่อของตัวเอกสารเองในการระบุถึงตำแหน่งของเอกสารหรือข้อมูลที่อยู่บนอินเทอร์เน็ต โดยจะต้องระบุโปรโตคอลของข้อมูลก่อน เช่น HTTP หรือ FTP เป็นต้น แล้วตามด้วยชื่อของเครื่องคอมพิวเตอร์หรือโฮสต์ ตามด้วยชื่อโดเมน ต่อจากนั้นก็เป็นชื่อโฟลเดอร์หรือไดเรกทอรี และใน ที่สุดก็จะเป็นชื่อเอกสารนั้นๆ โดยจะใช้เครื่องหมาย / (Slash) เป็นตัวคั่นระหว่างส่วน

ตัวอย่าง URL :  http : // www.nuch45.freeservers.com

(ข) Domain Name (DNS)

ในการตั้ง Server ของตนเอง เราต้องมีชื่อ Domain name ที่จดทะเบียนไว้ เพื่อให้ลูกค้าเรียกติดต่อเข้ามาเช่นเดียวกัน ซึ่งมี ISP ที่ให้บริการติดต่อจดทะเบียนชื่อให้  เครื่องที่เชื่อมต่อเข้ากับระบบอินเตอร์เน็ตเท่านั้นที่จำเป็นต้องใช้ชื่อและหมายเลขเครื่อง (IP address) ตามกฎเกณฑ์ของอินเตอร์เน็ต ส่วนเครื่องอื่นๆ ก็ใช้กฎเกณฑ์ของเครือข่ายภายในองค์กร  

เนื่องจากหมายเลขประจำตัวเครื่อง คอมพิวเตอร์ที่เชื่อมต่อกับ internet นั้นเป็นตัวเลขที่จดจำยาก ทำให้การอ้างถึงเครื่องคอมพิวเตอร์ในระบบ Internet ไม่สะดวกต่อผู้ใช้ ดังนั้นจึงมีระบบชื่อโดเมน (DNS) ขึ้นมา เพื่อเป็นการสะดวกต่อผู้ใช้ โดยที่ DNS จะทำการแปลงจากชื่อเป็นหมายเลข internet (IP Number) นั่นเอง เช่น www.rajabhat.ac.th  DNS    203.150.182.20

ซึ่งลักษณะของชื่อคอมพิวเตอร์จะมีโครงสร้างดังนี้

www .

rajabhat .

ac .

th

ชื่อเครื่อง  computer

ชื่อเครือข่ายท้องที่

ชื่อโดเมน

ชื่อสับโดเมน

Domain Name มี 2 ประเภท คือ

1. ชื่อโดเมนที่เป็นองค์กรอยู่ภายในประเทศสหรัฐอเมริกา

ตัวอย่างชื่อโดเมน

ชื่อโดเมน

ประเภทขององค์กรในประเทศสหรัฐอเมริกา

ความหมาย

com

Commercial

สำหรับกลุ่มองค์กรการค้า

net

network service

สำหรับกลุ่มองค์กรบริหารเครือข่าย

gov

Governmental

สำหรับองค์กรของรัฐทั่วไป

mil

Military

สำหรับกลุ่มองค์กรทหาร

edu

Educational

สำหรับกลุ่มสถาบันการศึกษา

org

other organizations

สำหรับกลุ่มองค์กรอื่นๆ

2. ชื่อโดเมนของประเทศต่างๆ ซึ่งเป็นประเทศนอกเหนือจากสหรัฐอเมริกา

(ชื่อโดเมนที่เป็นชื่อประเทศจะถูกขยายโดยการกำหนดประเภทขององค์กรในประเทศนั้นๆ ซึ่งเรียกว่า “สับโดเมน”

ตัวอย่างชื่อโดเมนที่เป็นชื่อย่อของประเทศ

ชื่อโดเมน

ชื่อประเทศ

ความหมาย

Th

Thailand

สำหรับประเทศไทย

Fr

France

สำหรับประเทศฝั่งเศส

Uk

United Kingdom

สำหรับประเทศอังกฤษ

Jp

Japan

สำหรับประเทศญี่ปุ่น

au

Australia

สำหรับประเทศออสเตรเลีย

ตัวอย่างชื่อสับโดเมนซึ่งเป็นส่วนขยายของชื่อโดเมน

ชื่อสับโดเมน

คำอธิบาย

ความหมาย

ตัวอย่าง

Ac

Academic

สำหรับสถาบันการศึกษา

www.rajabhat.ac.th

Co

Commercial

สำหรับธุรกิจการค้า

www.loxinfo.co.th

Or

Organizations

สำหรับกลุ่มองค์กรอื่น

www.nectec.or.th

 

(ค) HTML (Hyper Text Mark-up Language)

การนำเสนอข้อมูลในระบบ WWW (World Wide Web) พัฒนาขึ้นมาในช่วงปลายปี 1989 โดยทีมงานจาก ห้องปฏิบัติการทางจุลภาคฟิสิกส์แห่งยุโรป (EuropeanParticle Physics Labs) หรือที่รู้จักกันในนาม CERN (Conseil European pour la Recherche Nucleaire) ประเทศสวิตเซอร์แลนด์ และได้มีการพัฒนาภาษา ที่ใช้สนับสนุน การเผยแพร่เอกสาร ของนักวิจัย หรือเอกสารเว็บ (Web Document) จากเครื่องแม่ข่าย (Server) ไปยังสถานที่ต่างๆ ในระบบ WWW เรียกว่า ภาษา HTML (HyperText Markup Language)

          การเผยแพร่ข้อมูลทางอินเทอร์เน็ต ผ่านสื่อประเภทเว็บเพจ (WebPage) เป็นที่นิยมกันอย่างสูงในปัจจุบัน ไม่เฉพาะข้อมูลโฆษณาสินค้า ยังรวมไปถึงข้อมูลทางการแพทย์ การเรียน งานวิจัยต่างๆ เพราะเข้าถึงกลุ่มผู้สนใจได้ทั่วโลก ตลอดจนข้อมูลที่นำเสนอออกไป สามารถเผยแพร่ได้ทั้งข้อมูลตัวอักษร ข้อมูลภาพ ข้อมูลเสียง และภาพเคลื่อนไหว มีลูกเล่นและ เทคนิคการนำเสนอที่หลากหลาย อันส่งผลให้ระบบ WWW เติบโตเป็นหนึ่ง ในรูปแบบบริการ ที่ได้รับความนิยมสูงสุด ของระบบอินเทอร์เน็ต

Hyperlink          ลักษณะเด่นของการนำเสนอข้อมูลเว็บเพจ คือ สามารถเชื่อมโยงข้อมูล ไปยังจุดอื่นๆ บนหน้าเว็บได้ ตลอดจนสามารถ เชื่อมโยงไปยังเว็บอื่นๆ ในระบบเครือข่าย อันเป็นที่มาของคำว่า HyperText หรือข้อความที่มีความสามารถมากกว่า ข้อความปกตินั่นเอง จึงมีลักษณะคล้ายกับว่าผู้อ่านเอกสารเว็บ สามารถโต้ตอบกับเอกสารนั้นๆ ด้วยตนเอง ตลอดเวลาที่มีการใช้งานนั่นเอง

          ด้วยความสามารถดังกล่าวข้างต้น จึงมีผู้ให้คำนิยาม Web ไว้ดังนี้

          "World Wide Web as a global, interactive, cross-platform, distributed, graphical hypertext information system that runs over the Internet."

          เมื่อเว็บเพจเป็นสื่อในการนำเสนอข้อมูลที่ได้รับความสนใจมาก การเรียนรู้เทคโนโลยีด้านนี้ เพื่อนำมาพัฒนาเว็บเพจด้วยตนเอง จึงเป็นสิ่งที่น่าสนใจ โดยอาศัยภาษาคอมพิวเตอร์ที่เรียกว่า HTML และสามารถดูเว็บที่พัฒนาแล้ว ด้วยโปรแกรมเบราเซอร์ (Web Browser)

HTML หรือ HyperText Markup Language เป็นภาษาคอมพิวเตอร์รูปแบบหนึ่ง ที่มีโครงสร้างการเขียนโดยอาศัยตัวกำกับ (Tag) ควบคุมการแสดงผลข้อความ, รูปภาพ หรือวัตถุอื่นๆ ผ่านโปรแกรมเบราเซอร์ แต่ละ Tag อาจจะมีส่วนขยายที่เรียกว่า Attribute สำหรับระบุ หรือควบคุมการแสดงผล ของเว็บได้ด้วย

Tag

          Tag เป็นลักษณะเฉพาะของภาษา HTML ใช้ในการระบุรูปแบบคำสั่ง หรือการลงรหัสคำสั่ง HTML ภายในเครื่องหมาย less-than bracket ( < ) และ greater-than bracket ( > ) โดยที่ Tag HTML แบ่งได้ 2 ลักษณะ คือ

Attributes

          Attributes เป็นส่วนขยายความสามารถของ Tag จะต้องใส่ภายในเครื่องหมาย < > ในส่วน Tag เปิดเท่านั้น Tag คำสั่ง HTML แต่ละคำสั่ง จะมี Attribute แตกต่างกันไป และมีจำนวนไม่เท่ากัน การระบุ Attribute มากกว่า 1 Attribute ให้ใช้ช่องว่างเป็นตัวคั่น

         เช่น Attributes ของ Tag เกี่ยวกับการจัดพารากราฟ คือ <P> ประกอบด้วย

ALIGN="Left/Right/Center/Justify"

ซึ่งสามารถเขียนได้ดังนี้

         <P ALIGN="Left">...</P>

         หรือ

         <P ALIGN="Right">...</P>

         หรือ

         <P ALIGN="Center">...</P>

โครงสร้างเอกสาร HTML

ไฟล์เอกสาร HTML ประกอบด้วยส่วนประกอบสองส่วนคือ Head กับ Body โดยสามารถเปรียบเทียบได้ง่ายๆ ก็คือ ส่วน Head จะคล้ายกับส่วนที่เป็น Header ของหน้าเอกสารทั่วไป หรือบรรทัด Title ของหน้าต่างการทำงานในระบบ Windows สำหรับส่วน Body จะเป็นส่วนเนื้อหาของเอกสารนั้นๆ โดยทั้งสองส่วนจะอยู่ภายใน Tag <HTML>…</HTML>


โครงสร้างไฟล์ HTML
โครงสร้างไฟล์ HTML

ส่วนหัวเรื่องเอกสารเว็บ (Head Section)

        Head Section เป็นส่วนที่ใช้อธิบายเกี่ยวกับข้อมูลเฉพาะของหน้าเว็บนั้นๆ เช่น ชื่อเรื่องของหน้าเว็บ (Title), ชื่อผู้จัดทำเว็บ (Author), คีย์เวิร์ดสำหรับการค้นหา (Keyword) โดยมี Tag สำคัญ คือ

<HEAD>
     <TITLE>ข้อความอธิบายชื่อเรื่องของเว็บ</TITLE>
     <META HTTP-EQUIV="Content-Type" CONTENT="text/html; charset=TIS-620">
     <META NAME="Author" CONTENT="ชื่อผู้พัฒนาเว็บ">
     <META NAME="KeyWords" CONTENT="ข้อความ 1, ข้อความ 2, …">
</HEAD>

    • ข้อความที่ใช้เป็น TITLE ไม่ควรพิมพ์เกิน 64 ตัวอักษร, ไม่ต้องใส่ลักษณะพิเศษ เช่น ตัวหนา, เอียง หรือสี และควรใช้เฉพาะภาษาอังกฤษ ที่มีความหมายครอบคลุมถึงเนื้อหาของเอกสารเว็บ หรือมีลักษณะเป็นคำสำคัญในการค้นหา (Keyword)

    • การแสดงผลจาก Tag TITLE บนเบราเซอร์จะปรากฏข้อความที่กำกับด้วย Tag TITLE ในส่วนบนสุดของกรอบหน้าต่าง (ใน Title Bar ของ Window นั่นเอง)

    • Tag META จะไม่ปรากฏผลบนเบราเซอร์ แต่จะเป็นส่วนสำคัญ ในการทำคลังบัญชีเว็บ สำหรับผู้ให้บริการสืบค้นเว็บ (Search Engine) และค่าอื่นๆ ของการแปลความหมาย

    • การพิมพ์ชุดคำสั่ง HTML สามารถพิมพ์ได้ทั้งตัวพิมพ์เล็ก ตัวพิมพ์ใหญ่ หรือผสม การย่อหน้า เว้นบรรทัด หรือช่องว่าง สามารถกระทำได้อิสระ โปรแกรมเบราเซอร์จะไม่สนใจเกี่ยวกับระยะเว้นบรรทัดหรือย่อหน้า หรือช่องว่าง

ส่วนเนื้อหาเอกสารเว็บ (Body Section)

        Body Section เป็นส่วนเนื้อหาหลักของหน้าเว็บ ซึ่งการแสดงผลจะต้องใช้ Tag จำนวนมาก ขึ้นอยู่กับลักษณะของข้อมูล เช่น ข้อความ, รูปภาพ, เสียง, วีดิโอ หรือไฟล์ต่างๆ

        ส่วนเนื้อหาเอกสารเว็บ เป็นส่วนการทำงานหลักของหน้าเว็บ ประกอบด้วย Tag มากมายตามลักษณะของข้อมูลที่ต้องการนำเสนอ การป้อนคำสั่งในส่วนนี้ ไม่มีข้อจำกัดสามารถป้อนติดกัน หรือ 1 บรรทัดต่อ 1 คำสั่งก็ได้ แต่มักจะยึดรูปแบบที่อ่านง่าย คือ การทำย่อหน้าในชุดคำสั่งที่เกี่ยวข้องกัน ทั้งนี้ให้ป้อนคำสั่งทั้งหมดภายใต้ Tag <BODY> … </BODY> และแบ่งกลุ่มคำสั่งได้ดังนี้

  • กลุ่มคำสั่งเกี่ยวกับการจัดการพารากราฟ

  • กลุ่มคำสั่งจัดแต่ง/ควบคุมรูปแบบตัวอักษร

  • กลุ่มคำสั่งการทำเอกสารแบบรายการ (List)

  • กลุ่มคำสั่งเกี่ยวกับการทำลิงค์

  • กลุ่มคำสั่งจัดการรูปภาพ

  • กลุ่มคำสั่งจัดการตาราง (Table)

  • กลุ่มคำสั่งควบคุมเฟรม

  • กลุ่มคำสั่งอื่นๆ

 

(ง) HTTP (Hypertext Transfer Protocol)

เป็นการระบุโปรโตคอล, บอกจุดหมายของเรา เป็นมาตรฐานหรือข้อกำหนดที่ใช้ในการสื่อสารบน WWW ถ้าเปรียบเทียบกับ TCP/IP แล้ว HTTP ก็คือ Transport Protocol ในขณะที่ TCP/IP เป็น Network และ Transmission Protocol

อาทิเช่น   http://www.ku.ac.th

(ช) Home page = หน้าบ้าน (หน้าแรกของ web)

เวปไซท์หนึ่งๆ จะมีเวปเพจอยู่มากมายเต็มไปหมด ดังนั้น ผู้สร้างเวปเพจเหล่านั้นจึงกำหนดให้เวปเพจหน้าใดหน้าหนึ่งเป็นหน้าหลัก ทำหน้าที่เป็นปก และสารบัญของวเปเพจที่เกี่ยวข้องช่วยลดความสับสนแก่ผู้สนใจข้อมูล แต่หากว่าเวปไซท์ใด มีผู้สร้างเวปเพจหลายกลุ่มก็อาจมีหลายโฮเพจ ซึ่งแต่ละโฮมเพจก็จะมีเนื้อหาที่เกี่ยวข้องแตกต่างกันไปตามแต่ผู้สร้างกลุ่มนั้นสนใจ

เอกสารเว็บมีองค์ประกอบคล้ายคลึงกับเอกสารงานพิมพ์ทั่วไป คือประกอบด้วยหน้าเว็บมากกว่า 1 หน้าโดยมีหน้าแรกเป็นหน้าปก แต่มีการเรียกชื่อแตกต่างจากเอกสารงานพิมพ์ทั่วไป ดังนี้

  • ชุดเอกสารเว็บ (Web Presentation)
    ชุดของข้อมูลที่ต้องนำเสนอบนระบบอินเทอร์เน็ต ประกอบด้วยเว็บเพจ (Web Page) ตั้งแต่ 1 หน้าขึ้นไป

  • เว็บเพจ (Web Pages หรือ Web Documents)
    เอกสารที่นำเสนอผลงานบนระบบอินเทอร์เน็ต โดยจะถูกเรียกและจัดรูปแบบการนำเสนอด้วยโปรแกรมเบราเซอร์ (Browser)

  • Home Page
    หน้าแรกของเอกสารเว็บ